ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ก้มหน้าก้มตา '

    ก้มหน้าก้มตา  หมายถึง (สํา) ก. ทําโดยไม่มองดูสิ่งอื่น, ทําโดยตั้งใจ, เช่น ก้มหน้าก้มตาทําไปจนกว่าจะสําเร็จ.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ก้มหลัง

    ก. น้อมหลังลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ.

  • ก้มหัว

    ก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความว่ายอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร.

  • กมณฑลาภิเษก

    [กะมนทะ-] (แบบ) น. หม้อน้ำสรง เช่น อนนเต็มในกมณฑลาภิเษก.(ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้า + ส. อภิเษก = รด).

  • กมณฑโลทก

    [กะมนทะ-] (แบบ) น. น้ำในหม้อ เช่น ชําระพระองค์ด้วยกมณฑโลทก.(ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้ำ + อุทก = น้ำ).

  • กมล

    [กะมน] (แบบ) น. บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล. ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คําหลวง หิมพานต์),บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).

  • กมล- , กมลา

    [กะมะละ-, กะมะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติเณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม;ส. ว่า พระลักษมี).

  • กมลาศ

    [กะมะลาด] (กลอน) น. บัว; ใจ. (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒