กก ๕ หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) ก. ตัด, บั่น, เช่น กกกิ่ง กกยอด.
น. ซอกด้านในหรือซอกด้านหลังของบานประตูหรือหน้าต่าง, ถ้าเป็นด้านหลังของแผ่นบานประตู เรียกว่า กกประตู, ถ้าเป็นด้านหลังของแผ่นบานหน้าต่าง เรียกว่า กกหน้าต่าง.
ดู กะวะ ๒.
น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็นเหล่า. (จ. ว่า ประเทศ).
ดู กก ๓.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Typha angustifolia L. ในวงศ์ Typhaceae ขึ้นในน้ำ ช่อดอกคล้ายธูปขนาดใหญ่, กกธูป ธูปฤๅษี ปรือ หรือ เฟื้อ ก็เรียก.
ดู กกช้าง.
[กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎและฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.(รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์)วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้าง'แส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).