กลู่ หมายถึง [กฺลู่] (โบ; กลอน) ก. เกลื่อน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลาด เช่น โกยกลู่กลาดคือลาญใน. (ม. คําหลวง จุลพน).
[กฺลู-] (วิทยา) น. น้ำตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่๑๔๖ ? ซ. มีในผลองุ่นสุก น้ำผึ้ง และผลไม้โดยมากที่มีรสหวานเป็นองค์ระกอบปรกติในเลือด และมีในปัสสาวะของผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีรสหวานน้อยกว่าน้าตาลทราย, เดกซ์โทรส ก็เรียก.(อ. glucose).
[กะลูน, กะลู] (แบบ) ก. กรุณา เช่นทุษฐโจรรันทำ กรรมแก่บดีสูรยศใดบกลูน และมาลักอัครขรรค์. (สมุทรโฆษ). ว. น่าสงสารเช่น สลดกลูน์ลุงทรวง. (สุธน). (ป.).
[กะเลวะระ] (แบบ) น. ซากศพ เช่น ถึงกระนั้นก็จะพบพานซึ่งกเลวระร่าง มิเลือดก็เนื้อจะเหลืออยู่บ้างสักสิ่งอัน. (ม. ร่ายยาว มัทรี),ใช้ว่า กเฬวราก ก็มี. (ป., ส.).
ก. ทําให้แน่น ให้ตึง หรือให้เขม็งยิ่งขึ้น เช่น กวดเชือก กวดตะปู,เร่งรัดให้ดียิ่งขึ้นหรือเพื่อให้ทัน เช่น กวดวิชา วิ่งกวด. น. เหล็กเครื่องมือสําหรับกวดเลี่ยมขอบภาชนะ เรียกว่า เหล็กกวด.
ว. เอาจริงเอาจัง, เร่งรัดให้ยิ่งขึ้น.
(ถิ่น-อีสาน) (ปาก) น. กวาน, ชื่อตําแหน่งขุนนางในภาคอีสานสมัยโบราณ แต่ชาวอีสานบางถิ่นออกเสียงเป็น กวน เช่นบ้านเมืองข้อนขุนกวน ยาดไพร่.
ก. คนให้เข้ากัน, คนให้เข้ากันจนข้น, เช่น กวนขนม, คนให้ทั่วกันหรือให้วนไปโดยรอบ เช่น กวนน้ำ; รบกวนทําให้เกิดความรําคาญเช่น กวนใจ, ก่อกวนทําให้วุ่นวาย เช่น กวนบ้านกวนเมือง, ชวนให้เกิดความรําคาญ ชวนให้ทําร้าย เช่น กวนมือ กวนตีน. น. เรียกของกินที่ทําด้วยผลไม้เป็นต้น เคี่ยวกับน้ำตาลแล้วคนให้เข้ากันจนข้น เช่น ขนมกวนทุเรียนกวน สับปะรดกวน.