กลางหาว หมายถึง น. กลางแจ้ง เช่น รองน้ำฝนกลางหาว, บนฟ้า เช่น เครื่องบินรบกันกลางหาว.
[กฺลาด] ว. ดาษดื่น, ใช้เข้าคู่กับคํา เกลื่อน เป็น เกลื่อนกลาด หรือกลาดเกลื่อน.
[กฺลาด-] ว. ดาษดื่น, เรี่ยรายอยู่มาก, เกลื่อนกลาด ก็ว่า.
[กะลาบาด] น. พวกนั่งยามตามไฟ, การตามไฟรักษายาม; ก้อนที่มีแสงซึ่งตกจากอากาศลงมาสู่ผิวโลก ถือว่าเป็นลางบอกเหตุร้าย,อุกกาบาต ก็เรียก. (บางทีจะเป็นคําตัดมาจาก 'อุกลาบาต' ดูอุกกา).
[กะหฺลาบ] (แบบ) น. หมวด, ฟ่อน, กํา, มัด; ฝูงใหญ่. (ป., ส.).
[กฺล้าม] น. เนื้อมะพร้าวห้าว; มัดเนื้อที่รวมกันเป็นก้อน ๆ ในกายคนและสัตว์ เรียกว่า กล้ามเนื้อ.
[กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหารเปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านของตนก็ดี. (จารึกสยาม),จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรีศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน.(โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.
[กฺล้าย] น. ชื่อกล้วยลูกผสมพันธุ์หนึ่งในสกุล Musa วงศ์Musaceae ผลใหญ่โค้ง เป็นเหลี่ยม และยาวกว่ากล้วยหอมเปลือกหนา เนื้อเหนียว ไส้แข็งสีส้ม รสหวาน นิยมกินเมื่อทำให้สุกแล้ว, กล้วยกล้าย ก็เรียก.