กล่อม ๓ หมายถึง [กฺล่อม] น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทําตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบําเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือกล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. ก. ร้องเป็นทํานองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมายความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือ ทําให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจกล่อมอารมณ์.
ก. ขับร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อให้ครึกครื้นในพิธีแต่งงานบ่าวสาวก่อนถึงฤกษ์ส่งตัวเจ้าสาว.
[กฺล้อมแกฺล้ม] ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด;พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป;กะล่อมกะแล่ม ก็ว่า.
[กฺลอย] น. ชื่อไม้เถามีหนามชนิด Dioscorea hispida Dennst.ในวงศ์ Dioscoreaceae มีหัวกลมใหญ่อยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ หัวดิบมีพิษเบื่อเมา แต่เมื่อฝานแช่น้ำไหลและนํามานึ่งหรือต้มให้สุกแล้วกินได้.
[กฺลอย] ก. คล้อย, ร่วม, เช่น กลอยใจ กลอยสวาท.
[กฺลัก] น. สิ่งที่ทําเป็นรูปคล้ายกระบอกสําหรับบรรจุของเล็ก ๆน้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ,ซองยาสูบทําด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทําเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สําหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่ากลักไม้ขีดไฟ, กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
[กฺลัง] (โบ) น. คลัง คือ ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือกสําหรับล่ามสัตว์. (สุธน).
[กฺลัด] น. สวะที่ติดขวางคลองแน่นอยู่. ก. เสียบขัดไว้ให้อยู่ด้วยของแหลม เช่น กลัดไม้กลัด กลัดเข็มกลัด; โดยปริยายเรียกอาการที่สิ่งบางอย่างคั่งอยู่ข้างใน เช่น กลัดหนอง.