ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กฤษฎี '

    กฤษฎี  หมายถึง [กฺริดสะดี] (แบบ; กลอน) น. รูป เช่น พระอินทราธิราชแปรกฤษฎี.(สมุทรโฆษ). (ส. อากฺฤติ = รูป).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กฤษฎีกา

    [กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากําหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหารเรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย.

  • กฤษณา

    [กฺริดสะหฺนา] น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา เกิดเมื่อต้นไม้มีบาดแผลพบเฉพาะในต้นไม้ชนิด Aquilaria crassna Pierre ex H. Lec.และ A. malaccensis Lam. ในวงศ์ Thymelaeaceae กลิ่นหอมใช้ทํายาได้.

  • กล, กล-

    [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิดเพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง;เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก,เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่นเหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ.(กฎหมาย).

  • กลไก

    [กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับ ต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร,ระบบที่จะให้งานสําเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง;(วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไกการย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).

  • กลฉ้อฉล

    [กน-] (กฎ) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ. (อ. fraud).

  • กลบท

    [กนละบด] น. คําประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คําหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น อมรแมนแม่นแม้นเจ้างามโฉม. (กลบทตรีประดับ).

  • กลพยาน

    [กน-] น. พยานที่ถูกวานให้ไปถามเป็นคํานับ. (สามดวง).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒