กราว ๒ หมายถึง [กฺราว] ว. เสียงดังคล้ายเช่นนั้น เช่น เสียงของแข็งจํานวนมาก ๆร่วงลงกระทบพื้นหรือหลังคาพร้อม ๆ กัน หรือเสียงที่คนจํานวนมากตบมือพร้อม ๆ กัน.
[กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็นกราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติและเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน,ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรงก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซเจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้องเป็นเพลงเขมร, กราวจีนทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือเล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน๒ ชั้น.
[กฺร้าว] ว. แข็งกระด้าง, แข็งมากหรือแข็งเกินพอดีซึ่งอาจแตกบิ่นได้ง่าย, ไม่นุ่มนวล.
ดู ม่านลาย.
[กฺราว-] (ปาก) ว. ตลอดหมด, ไม่เว้น, เช่น จับกราวรูด.
[กฺรา-] (โบ; กลอน) น. ผ้าด้ายแกมไหม เช่น พัสตรากราสิกศรี.(ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาสิก; ส. กาศิก).
[กฺรํา] ว. ตรํา, ฝ่า, ทนลําบาก, เช่น กรําแดด กรําฝน,เคี่ยวเข็ญเย็นค่ากรําไป. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
[กฺร่ำ] น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่น้ำ เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับก็เอาเฝือกหรืออวนล้อม แล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, เขียนเป็น กล่ำ ก็มี.