กระแหย่ง หมายถึง [-แหฺย่ง] ว. อาการปีนขึ้นอย่างพลั้ง ๆ พลาด ๆ. ก. คะยั้นคะยอเช่น มาหยักเหยาเซ้าซี้กระแหย่งชาย. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
[-แหฺร่ม] ก. กระแอม คือ ทําเสียงขึ้นมาจากคอ เช่นเพื่อมิให้น้ำมูกลงคอเมื่อเป็นหวัด หรือเพื่อให้หายเสลดติดคอ.
[-แหฺล่ง] น. วัตถุคล้ายกระดิ่ง แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบน ทําด้วยเหล็กใช้แขวนคอม้า โค กระบือ.
น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Catlocarpio siamensis ในวงศ์ Cyprinidaeหัวโต เกล็ดใหญ่ ลําตัวด้านหลังสีเทาดํา หางและครีบสีแดงคล้ำหรือส้ม พบในแม่น้ำใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร นับเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่มากในจําพวกปลามีเกล็ดด้วยกัน, กระมัน หรือ หัวมันก็เรียก.
[-โหฺนด] น. ตาล เช่น ย่านป่าขายพัดกระโหนดคันกลมคันแบนใหญ่น้อย. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา). (แผลงมาจาก โตนด).
[-โหมฺ] (กลอน) ก. โหม เช่น ศัพท์ส้าวกระโหมโครม. (บุณโณวาท).
[-โหยฺ] (กลอน) ก. โหย คือ ร้องไห้, คร่ำครวญ.
[-โหฺย่ง] ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง, กระหย่งหย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.