กระหมวด ๒ หมายถึง น. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสําคัญที่เกิดขนช้างฐาน๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมดราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สายประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดูลักษณะช้างเผือกใช้ตรวจขนทั้ง ๕ ฐานนี้ เป็นทางประกอบการพิจารณา.
(กลอน) ว. แขม่ว ๆ เช่น หายใจกระหมอบหอบเต็มที. (คาวี).
น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบกับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่นทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม).(แผลงมาจาก ขม่อม).
(สํา) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกน้ำค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า.
(กลอน) ว. กระมัง เช่น เครื่องค้าเหลือผู้ซื้อกระหมั่ง. (ลอ).
(โบ) ก. ประหม่า, สะทกสะท้าน, พรั่นใจ, เช่น กระมลบ้ากระหม่ามะเมอ. (สมุทรโฆษ).
ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุด เป็น กระหมุดกระหมิด.
ก. ทําปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ).ว. บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ.