ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' อุทธรณ์ '

    อุทธรณ์  หมายถึง [อุดทอน] น. การยกขึ้น, การรื้อขึ้น, การเคลื่อนที่, การเสนอ,การนำมาให้; ชื่อศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น เรียกว่า ศาลอุทธรณ์. ก. (กฎ) ยื่นฟ้องหรือยื่นคําร้องต่อศาลสูงคัดค้านคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้น; ยื่นคําร้องคัดค้านคําสั่งหรือคําวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่; ร้องเรียน,ร้องทุกข์, เช่น ร้องอุทธรณ์. (ป., ส. อุทฺธรณ).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • อุทธัจ

    [อุดทัด] น. ความฟุ้งซ่าน; ความประหม่า, ความขวยเขิน; อุธัจก็ว่า. (ป. อุทฺธจฺจ ว่า ความฟุ้งซ่าน; ส. เอาทฺธตฺย).

  • อุทยาน

    [อุดทะยาน] น. สวน. (ส.; ป. อุยฺยาน).

  • อุทยานแห่งชาติ

    (กฎ) น. พื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ได้สงวนรักษาไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกําหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ.

  • อุทร

    [ทอน] น. ท้อง. (ป., ส.).

  • อุทริยะ

    [อุทะริยะ] น. อาหารที่กินเข้าไปใหม่ ๆ. (ป. อุทริย; ส. อุทรฺย).

  • อุทลุม

    [อุดทะ] ว. ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง, เช่นคดีอุทลุม คือคดีที่ลูกหลานฟ้องบุพการีของตนต่อศาล, เรียกลูกหลานที่ฟ้องบุพการีของตนต่อศาลว่า คนอุทลุม เช่น ผู้ใดเปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมาฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวนมันด้วยลวดหนังโดยฉกัน. (สามดวง).

  • อุทัช

    ดู อุท.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒