ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' หนาแน่น '

    หนาแน่น  หมายถึง ว. คับคั่ง, แออัด, เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นมาก.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • หนาหู

    ว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหูว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็นคำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง.หนาหูหนาตา ดู หนาตา และ หนาหู.

  • หนา ๒

    คําประกอบท้ายคําอื่นที่มีความหมายไปในเชิงบังคับหรืออ้อนวอน เช่นอยู่เถิดหนา.

  • หน้า

    น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยาหน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่นกระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนังเช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคนเช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้าไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับหลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

  • หน้ากระฉีก

    น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนมเช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.

  • หน้ากระดาน

    ว. มีลักษณะเรียงแถวไหล่ต่อไหล่หันหน้าไปทางเดียวกันเช่น ลูกเสือเดินแถวหน้ากระดาน. น. พื้นที่ราบด้านตั้งที่อยู่บนบัวหงายหรือใต้บัวคว่ำ.

  • หน้ากระดูก

    น. รูปหน้าที่มีกระดูกสันแก้มสูง.

  • หน้ากร้าน

    น. ผิวหน้าที่หยาบคล้ำ เช่น ตากแดดตากลมจนหน้ากร้าน.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒