ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ศิลปวิทยา '

    ศิลปวิทยา  หมายถึง น. ศิลปะและวิชาการ.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ศิลปศาสตร์

    น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทางอาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธาวิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสาวิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.

  • ศิลปศึกษา

    น. วิชาว่าด้วยการเรียนการสอนศิลปะ เช่น ทฤษฎีศิลป์ประวัติศาสตร์ศิลป์.

  • ศิลปหัตถกรรม

    น. ศิลปวัตถุที่เป็นผลงานประเภทศิลปะประยุกต์มีจุดประสงค์และความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอย เช่นงานโลหะ งานถักทอ งานเย็บปักถักร้อย.

  • ศิลปะปฏิบัติ

    น. วิชาว่าด้วยการปฏิบัติทางศิลปะ เช่น วาดเขียนปั้นดิน จักสาน เย็บปักถักร้อย.

  • ศิลปะประยุกต์

    น. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทางศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือเป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้นอย่างในการออกแบบเครื่องแต่งกาย.

  • ศิลปะพื้นบ้าน

    น. ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรมสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรมที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัวหรือในหมู่บ้าน เป็นงานสร้างสรรค์ของสังคมชาวบ้าน และได้พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน.

  • ศิลปะสถาปัตยกรรม

    น. ศิลปะลักษณะด้านสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในอาคารที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงาม เช่นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒