ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ตะกร้อ '

    ตะกร้อ  หมายถึง [-กฺร้อ] น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สําหรับเตะ; เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว ทําด้วยไม้หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลีตรงปากมีฟันสําหรับสอย; เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ, กร้อ ก็เรียก; เครื่องสานรูปทรงกระบอก สําหรับใส่ไว้ในกระถางยาดองและกะปิเป็นต้น เพื่อกั้นเนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้า ข้างใน; เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สําหรับสวมปากม้าหรือปากหมาเป็นต้น; (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา, กระตร้อ ก็เรียก.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ตะกร่อม

    [-กฺร่อม] น. เครื่องมือจับปูทะเล. (ดู กะกร่อม).

  • ตะกรัน

    [-กฺรัน] ดู ตะกรน ๒.

  • ตะกรับ ๑

    [-กฺรับ] น. ดินเผาหรือเหล็กเป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สําหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้ และขี้เถ้าตกลงข้างล่าง (โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้าเรือกลไฟเป็นต้น), รังผึ้ง ก็ว่า; เหล็กทําเป็นซี่ ๆ มีด้ามจับ สําหรับปิ้งปลาเป็นต้น.

  • ตะกรับ ๒

    [-กฺรับ] น. ชื่อกกชนิด Cyperus procerus Rottb. ในวงศ์ Cyperaceaeลําต้นเป็นสามเหลี่ยม ใบยาวและแคบ ดอกสีนํ้าตาล.

  • ตะกรับ ๓

    [-กฺรับ] น. (๑) ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Scatophagus argus ในวงศ์Scatophagidae รูปร่างสั้น แบนข้างและกว้างมาก หัวทู่ ปากเล็ก หางมนเกล็ดเล็ก สากมือ สีพื้นลําตัวมี แตกต่างกันมากอาจเป็นสีเขียว เทาหรือนํ้าตาลครึ่งบนของลําตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดํา พาดขวางหลายแนวและแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทาอยู่ได้ทั้งในนํ้าจืดและทะเล, กระทะ หรือ เสือดาว ก็เรียก. (๒) ดู หมอช้างเหยียบ.

  • ตะกร้า

    [-กฺร้า] น. ภาชนะสานโปร่งสําหรับใส่สิ่งของ มีรูปต่าง ๆ บางชนิดมีหูหิ้วบางชนิดไม่มี.

  • ตะกราม

    [-กฺราม] น. ชื่อนกกระสาชนิด Leptoptilos dubius ในวงศ์ Ciconiidae เป็นนกกระสาที่ใหญ่ที่สุด ตัวสีเทา หัวสีแดงส้ม ตลอดหัวและลําคอไม่มีขน ปากใหญ่แข็งแรงปลายแหลมตรง ขายาว มีถุงลมสีส้มห้อยอยู่ด้านหน้าของลําคอและมีพู่ขนสีขาวรอบฐานคอ กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็ก.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒