ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กระบวร '

    กระบวร  หมายถึง [-บวน] ก. ประดับ, แต่ง. ว. วิจิตร. (แผลงมาจาก กบูร).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กระบอก ๑

    น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้นเช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐานสําหรับใช้กับของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาวช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่าเสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้างลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก;(เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็นวงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือรูปกระบอก, ลักษณะได้แก่รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้นจนปลาย. (อ. cylinder).(รูปภาพ กระบอก)

  • กระบอกเพลา

    น. ไม้แข็งเช่นเต็งรังทําเป็นปลอกตอกอัดไว้ในรูดุมเกวียนสําหรับสอดเพลาเข้าในรูนั้นป้องกันมิให้รูดุมคราก.

  • กระบอกสูบ

    น. ส่วนของเครื่องจักรเครื่องยนต์ ลักษณะเป็นโพรงรูปกระบอกอยู่ในเสื้อสูบ เป็นช่องสําหรับบังคับให้ลูกสูบเคลื่อนไปมา.

  • กระบอกหัว

    (โบ) น. กะโหลกหัว เช่น อีกกระบอกหววมึงกูจะผ่า.(ม. คําหลวง ชูชก), ปักษ์ใต้ว่า บอกหัว.

  • กระบอก ๒

    น. ชื่อปลาน้ำกร่อยและทะเลในสกุล Liza, Valamugil,Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลําตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงินมีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้(L. vaigiensis) กระบอกดํา (L. parsia) กระบอกขาว(V. seheli), กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สําหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก ยมก หรือ มก.

  • กระบอก ๓

    น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศกูเอย. (นิ. นรินทร์), กว่ากลิ่นกระบอกบง - กชเกศเอาใจ.(เสือโค), ใช้ว่า ตระบอก ก็มี. (เทียบอะหม บฺลอก; ไทยใหญ่หมอก; ไทยขาว และ ไทยนุง บอก; เขมร ตฺรบก).

  • กระบอก ๔

    น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการรีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒