ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' กรรมฐาน '

    กรรมฐาน  หมายถึง [กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ มี ๒ ประการคือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และวิปัสสนา กรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺ?าน).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • กรรมบถ

    [กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่างตามลักษณะ คือกุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถ.(ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ).

  • กรรมพันธุ์

    [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม +พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).

  • กรรมวาจา

    [กำมะ-] น. คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. (สฺ กรฺม + วาจา= คำ; ป. กมฺม + วาจา).

  • กรรมวาจาจารย์

    [กํามะวาจาจาน] น. อาจารย์ผู้ให้สําเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด.(ส. กรฺมวาจา + อาจารฺย = อาจารย์).

  • กรรมวิธี

    [กํามะวิที] น. ลักษณะอาการหรือวิธีการที่ผันแปรหรือเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทําขึ้นอันดําเนินติดต่อกันเรื่อยไปเป็นลําดับ, กระบวนวิธีดําเนินการในประดิษฐกรรม.

  • กรรมวิบาก

    [กํามะวิบาก] น. ผลของกรรม. (ส. กรฺม + วิปาก = ผล; ป. กมฺม + วิปาก).

  • กรรมเวร

    [กําเวน] น. การกระทําที่สนองผลร้ายซึ่งทําไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมในอดีต เช่น อายุตั้ง๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวรแท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรมก็ว่า.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒